โครงการการเรียนวิชาพื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
------------------------------------------------------------
การเรียนวิชาพื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา หมายถึง การให้นักศึกษาปริญญาโท ภาคปกติของสถาบันได้เรียนวิชาที่จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา เป็นการเปิดโลกทัศน์ของนักศึกษาให้กว้างเหมาะสมกับศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา และเพื่อให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้วยการเพิ่มทักษะและองค์ความรู้เรื่องจำเป็นที่สถาบันให้ความสำคัญ ซึ่งเป็นทักษะ เฉพาะ (Skill sets) จำนวน 4 ด้าน ตามกรอบ NIDA’s DNA and Skillset Architecture ได้แก่ 1) Digital Literacy 2) Glocal Citizenship 3) Leadership Development และ 4) Sustainable Development ในการจัดการเรียนการสอนของโครงการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ นำทักษะและผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนกิจการงานต่างๆ ทุกภาคส่วนของประเทศให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จริยธรรม และสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนในวิชาดังกล่าวนี้ยังเป็นการสนองนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อีกส่วนหนึ่งด้วย
วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อช่วยให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเป็นคนที่มีคุณภาพสมบูรณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม มีโลกทัศน์กว้างไกลและเป็นบุคคลที่เป็นที่ยอมรับในสังคม นอกเหนือจากความสามารถหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่ตนศึกษาแล้ว
4.2 เพื่อให้นักศึกษาและคณาจารย์ต่างคณะ/สำนัก/โครงการ มีโอกาสพบปะทำความรู้จักกันก่อนจะแยกย้ายไปเรียนตามคณะ/สำนัก/โครงการ ของตน
4.3 เป็นการสร้างความพร้อมให้นักศึกษาก่อนการศึกษาวิชาตามหลักสูตร
ลักษณะวิชาโดยสังเขป
แนะนำธรรมาภิบาลกับการปกครองไทย เศรษฐกิจไทยในยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ธุรกิจไทยในบริบทโลก สังคมไทยกับการพัฒนา บัณฑิตและคุณค่าความเป็นมนุษย์ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ การพัฒนาบุคลิกภาพและกลยุทธ์ : เทคนิคการนำเสนอสำหรับผู้นำแห่งความยั่งยืน กฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การเขียนรายงานทางวิชาการและข้อระวังการคัดลอกผลงานทางวิชาการ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การสื่อสารยุคดิจิทัล การให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้ฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์และการใช้บริการห้องสมุด