ประกาศสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่อง ระยะเวลาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่อง ระยะเวลาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อกำหนดระยะเวลาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สําหรับนักศึกษาสามัญ ของสถาบัน ให้สอดคล้องกับข้อ ๑๒ แห่งประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบกับข้อ ๔๒ (๔) แห่งข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๓ และมติสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ จึงกําหนดระยะเวลาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับนักศึกษาที่ขึ้นทะเบียนตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“รองอธิการบดี” หมายความว่า รองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลด้านการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
“คณะ” หมายความว่า คณะ วิทยาลัย สํานัก และส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย สํานัก ซึ่งจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรตั้งแต่ระดับบัณฑิตศึกษา ขึ้นไป
“หลักสูตร” หมายความว่า หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบัน
ข้อ ๓ ให้อธิการบดีรักษาการตามประกาศนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการตีความตามประกาศนี้ ให้อธิการบดีตามคําแนะนําของคณะอนุกรรมการบริหารสถาบันด้านการศึกษามีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาด และให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ ๔ การนับระยะเวลาการศึกษาให้เริ่มนับตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่นักศึกษาขึ้นทะเบียนเป็น นักศึกษาสามัญในหลักสูตรจนถึงภาคการศึกษาที่นักศึกษาดําเนินการครบถ้วนตามเกณฑ์สําเร็จการศึกษาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรและตามข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๕ ระยะเวลาการศึกษาสําหรับนักศึกษาสามัญของสถาบัน กําหนดดังนี้
(๑) ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ชั้นสูง จะต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกินสามปีการศึกษา
(๒) ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท จะต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกินห้าปีการศึกษา
(๓) ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอก มีดังนี้ ๑) กรณีรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าศึกษาต่อ จะต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกินแปดปีการศึกษา ๒) กรณีรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเข้าศึกษาต่อ จะต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกินหกปีการศึกษา
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีความจําเป็นและมีเหตุผลสมควรที่ทําให้นักศึกษาไม่อาจสําเร็จการศึกษาได้ ภายในกําหนดระยะเวลาตามข้อ ๕ นักศึกษาสามารถยื่นคําร้องเสนอเหตุผลความจําเป็น พร้อมทั้ง หลักฐานประกอบและแผนการดําเนินการต่อคณบดีคณะที่เข้าศึกษา ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบ วันก่อนวันครบระยะเวลาการศึกษาเพื่อให้คณะพิจารณา โดยเงื่อนไขในการพิจารณาขยายระยะเวลาการศึกษาให้เป็นไปดังนี้
(๑) กรณีแผนการศึกษาที่ต้องทําวิทยานิพนธ์ นักศึกษาต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านหัวข้อและ เค้าโครงวิทยานิพนธ์แล้ว แต่ยังไม่ได้สอบความก้าวหน้าหรือสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ โดยในการขอขยาย ระยะเวลาการศึกษา คณะควรกําหนดวันสอบความก้าวหน้าหรือวันสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ให้นักศึกษา เรียบร้อยแล้ว
(๒) กรณีแผนการศึกษาที่ต้องทําวิชาการค้นคว้าอิสระ นักศึกษาต้องเป็นผู้ที่เรียนรายวิชา ครบถ้วนตามข้อกําหนดของหลักสูตรและได้ผลการศึกษาไม่ต่ํากว่า ๓.๐๐ และเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการรอ สอบปากเปล่าวิชาค้นคว้าอิสระขั้นสุดท้าย หรือรอสอบประมวลความรู้เพื่อสําเร็จการศึกษา
(๓) กรณีอื่นๆ ที่ทําให้นักศึกษาไม่สามารถดําเนินการศึกษาได้ครบถ้วนตามเกณฑ์การสําเร็จ การศึกษาภายในระยะเวลาที่กําหนด เช่น การเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลานาน การเกิด ภัยภิบัติอันเป็นเหตุทําให้กระบวนการศึกษาต้องหยุดดําเนินการ เป็นต้น
เมื่อคณบดีคณะที่เข้าศึกษาได้พิจารณาความจําเป็นและเหตุผลรวมถึงแผนการดําเนินการของนักศึกษาเรียบร้อยแล้วหากเห็นควรเสนอขอขยายระยะเวลาการศึกษาให้กับนักศึกษา ให้คณะเสนอ เรื่องต่ออธิการบดีผ่านรองอธิการบดีเพื่อพิจารณาอนุมัติขยายเวลาออกไปอีกเป็นรายกรณี
ข้อ ๗ กรณีที่นักศึกษาไม่สามารถยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาได้ภายในกําหนดระยะเวลาตาม ข้อ ๖ ให้คณบดีคณะที่เข้าศึกษาพิจารณาเหตุผลและความจําเป็นเพื่อขยายเวลาการยื่นคําร้องได้เป็น รายกรณี ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงระยะเวลาในการดําเนินการพิจารณาอนุมัติ โดยต้องให้แล้วเสร็จก่อนวันครบกําหนดระยะเวลาการศึกษา
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๘ นักศึกษาที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาก่อนภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ให้นํา ข้อ ๕ แห่งประกาศนี้มาใช้บังคับ สําหรับการขอขยายระยะเวลาการศึกษาให้เป็นไปตามข้อกําหนด ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม